อายุยืนยาวจะมีราคาแพง
ที่ปรึกษาได้ให้บริการที่มีคุณค่าซึ่งช่วยให้กลุ่มผู้ใกล้เกษียณอายุได้รับผลตอบแทนจากการทำงานตลอดชีวิตเพื่อเดินทางท่องเที่ยว ทำงานอดิเรกและพักผ่อนในช่วงปีทองของพวกเขา แต่บริการดังกล่าวควรรวมถึงการวางแผนหลังเกษียณเนื่องจากผู้ที่มีอายุ 65 ปี — อย่างน้อยผู้ที่อยู่ในองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ (OECD) — สามารถคาดหวังว่าจะมีชีวิตอยู่ได้อีก 19.9 ปีตามรายงานของ OECD การมีอายุยืนยาวดังกล่าวทำให้ลูกค้าต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพในอนาคตและเข้าใจว่ากลยุทธ์การลงทุนที่พวกเขาใช้ในการสะสมเงินเก็บไว้เพื่ออนาคตของพวกเขาไม่มีช่วงเวลาอันหรูหราที่จะชดเชยการสูญเสียอีกต่อไป
“มีโอกาสมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ผู้คนสามารถมีชีวิตได้ถึง 100 ปี และสิ่งนี้มีนัยสำคัญ” Plabita Priyadarshi, สมาชิก MDRT 10 ปี จากมุมไบ ประเทศอินเดีย กล่าว “จะมีความต้องการที่คาดไม่ถึงเกี่ยวกับการออมเพื่อการเกษียณอายุ ซึ่งรวมถึงการชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนทางการเงินสำหรับบุตรและการดูแลระยะยาว ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากเมื่อเราวางแผนสำหรับการเกษียณอายุของลูกค้าเหล่านี้โดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในอนาคตของการมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น”
ความสัมพันธ์ของ Priyadarshi ที่มีต่อการรักษาคุณภาพชีวิตของลูกค้าสูงวัยเริ่มหยั่งรากตั้งแต่เธอยังเด็กและปรารถนาที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เพื่อที่เธอจะได้มีอิสระมากขึ้น พบปะผู้คนใหม่ ๆ และสำรวจสถานที่และสิ่งต่าง ๆ ที่เกินขอบเขตวัยเยาว์ของเธอ เนื่องจากเธอมองหาคนที่มีอายุมากกว่า เธอจึงเล่นกับเด็กโตและหาบทสนทนากับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเพื่อรวบรวม "ความรู้ที่ไหลลง” โฟกัสของ Priyadarshi ในการบรรลุความมั่นคงสำหรับผู้เกษียณอายุหลังเกษียณคือการคืนทุนให้กับภูมิปัญญาที่เธอสั่งสมมาจากผู้อาวุโสที่เธอเคารพรักเสมอมา
ต้องวางแผนสำหรับความเสี่ยง
อัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยหนึ่งที่เธอคำนึงถึงในการวางแผนกลยุทธ์สำหรับผู้เกษียณอายุหลังเกษียณ สินค้าและบริการที่ลูกค้าสูงอายุพึ่งพามากกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า เช่น ประกันสุขภาพ การรักษาด้วยยาและความช่วยเหลือดูแลส่วนบุคคล ได้รับผลกระทบอย่างมากจากอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้กำลังซื้อและเงินออมของพวกเขาลดลงเร็วขึ้น ดังนั้น แผนการเงินผู้เกษียนอายุหลังเกษียณจะต้องไม่ระมัดระวังจนเกินไปและควรผสมผสานการลงทุนที่สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อ
ภาษีเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ Priyadarshi คำนึงถึง
“ผู้เกษียณอายุทราบดีว่าภาษีอาจทำให้เงินออมของพวกเขาลดลงอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขายังไม่คุ้นเคยกับวิธีการลดภาระภาษีของตนเอง คนเกษียณอายุส่วนใหญ่ไม่ถือว่าภาษีเป็นค่าใช้จ่าย และพวกเขาไม่เคยวางแผนสำหรับสิ่งนั้น” เธอกล่าว “ดังนั้น ในขณะที่ทำการวางแผนการเกษียณอายุ สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมทางภาษีในปัจจุบันและในอนาคต ต้องการรายได้มากขึ้นเพื่อรักษาวิถีชีวิตของ ผู้เกษียณอายุ แต่รายได้ที่เพิ่มขึ้นจะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่า ดังนั้นฉันจึงเลือกที่จะแก้ปัญหาที่ไม่ต้องเสียภาษีเลย”
ประการสุดท้าย การมีอายุยืนยาวอาจทำให้เด็กที่โตแล้ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ที่แก่ชราในช่วงอายุขัยที่ยืนยาว กลยุทธ์หลังการเกษียณอายุของเธอส่งเสริมแผนการที่รักษาทุนและปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นเพื่อรับภาระการดูแลระยะยาวหากมีปัญหาสุขภาพเกิดขึ้น
“ฉันคิดเสมอว่าแนวคิดเรื่อง การวางแผนหลังเกษียณอย่างมีเหตุผลคือแนวทางที่ดีที่สุด แทนที่จะปล่อยให้อารมณ์ของคุณทํางานขัดกับผลประโยชน์ของคุณเอง" Priyadarshi กล่าว “ผู้คนควรมีเหตุผลให้มาก ในขณะที่วางแผนกองทุนเพื่อการเกษียณเพราะทั้งหมดนี้เกี่ยวกับการมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น”
การลงทุนสำหรับผู้เกษียนอายุหลังเกษียณ
ปรัชญาในการลงทุนหลังเกษียณของเธอและการช่วยเหลือลูกค้า “รักษาความแวววาวของวัยทอง” ประกอบด้วยสามองค์ประกอบต่อไปนี้:
- เนื่องจากไม่มีรายได้จากการทำงาน คำแนะนำแรกของเธอคือการวางแผนผลตอบแทนรายเดือนที่ พวกเขาต้องการทุกเดือนเพื่อรักษาคุณภาพชีวิตก่อนการเกษียณอายุ
- ใช้แผนสร้างความมั่งคั่งในระยะสั้น ประมาณ ห้าปี ซึ่งลูกค้ามีโอกาสที่จะพัฒนาแผนการที่สามารถตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้ตลอดชีวิต เมื่อพวกเขาสร้างคลังข้อมูลเป็นระยะเวลาห้าปี เธอจึงแนะนำให้พวกเขาซื้อกรมธรรม์บำนาญ เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ผลตอบแทนของกรมธรรม์บำนาญจะดีกว่า
- ลงทุนส่วนใหญ่ในแผนการปลอดภาษีเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นและดีขึ้นและผลตอบแทนก็ดีกว่าอัตราเงินเฟ้อ
Priyadarshi กล่าวว่า "สำหรับเราแต่ละคน กลุ่มบุคคลที่เกษียณอายุแล้วโดยเฉพาะนี้เป็นโอกาสที่ดีในการเพิ่มธุรกิจของเรา และการช่วยให้พวกเขาวางแผนการเงินของพวกเขาก็เป็นเหตูผลอันมีศีลธรรมเช่นกัน" Priyadarshi กล่าว “สิ่งนี้ทำให้บุคคลที่เกษียณอายุแล้วมีส่วนร่วมในการทำให้เศรษฐกิจเติบโตและประคับประคองพวกเขาอย่างสะดวกสบายท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและพายุทางเศรษฐกิจ”
CONTACT
Plabita Priyadarshi plabis2003@yahoo.co.in