หากคุณต้องทายว่าหัวข้อการเงินใดที่ทำให้คนหนุ่มสาวกังวลมากที่สุดในทุกวันนี้ เป็นไปได้ว่าสิ่งแรกที่คุณทายคงไม่ใช่เงินบำนาญ
แต่สำหรับ Min Gyu Lee ที่ทำงานกับลูกค้าเจเนอเรชัน MZ 500 คน ซึ่งในเกาหลีหมายถึงคนที่เป็นเจเนอเรชันมิลเลเนียลและเจเนอเรชัน Z ที่คำถามนี้โฟกัสมากที่สุด นั่นเป็นเพราะคนรุ่นหนุ่มสาวมีความเครียดมากขึ้น สมาชิก MDRT หกปีจากกรุงโซล เกาหลีใต้กล่าว เกี่ยวกับจำนวนเงินที่พวกเขาจ่ายให้กับโครงการเงินบำนาญแห่งชาติและจำนวนที่พวกเขาคาดหวังว่าจะได้รับจากโครงการเมื่อพวกเขาอายุมากขึ้น
“เงื่อนไขนี้เกิดจากอัตราการเกิดของประเทศที่ลดลง การจัดการการผลตอบแทนการลงทุนของบริษัทมหาชน อายุขัยเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น” Lee กล่าว “ด้วยเหตุนี้ เรากำลังเผชิญกับวิกฤติโดยรวม และคนรุ่นใหม่กำลังกังวลเกี่ยวกับการเกษียณอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ”
การนำวิทยาศาสตร์มาผสานกับการเงิน
เป็นเรื่องดีที่ Lee มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่ช่วยให้ชีวิตลูกค้าง่ายขึ้น
ตอนขณะเรียนมหาวิทยาลัย เขาเรียนเศรษฐศาสตร์และมีความสนใจเป็นพิเศษในการเรียนรู้และอ่านเกี่ยวกับจิตวิทยาเศรษฐศาสตร์ หลังจากนั้น เขาได้รับใบอนุญาต Financial Therapist นักจิตบำบัดการเงินที่ได้รับการรับรอง และเริ่มเสนอการทดสอบจิตวิทยาการเงินแก่ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจมุมมองที่ซับซ้อนของตนเองเกี่ยวกับเงินได้ดีขึ้น
“ถ้าคุณดูผลการทดสอบกับลูกค้า พูดคุยเกี่ยวกับผลการทดสอบ และเลือกเส้นทาง ลูกค้าจะได้เรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน และได้รับมุมมองใหม่เกี่ยวกับตัวเอง ซึ่งทำให้การสนทนาของเราง่ายขึ้น” เขากล่าว
นับตั้งแต่ได้รับการรับรอง Lee ได้ทำการจิตบำบัดการเงินแก่ลูกค้า 100 ราย ลูกค้าเหล่านั้นกำลังมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอย่างน้อยสองเท่าและมากที่สุดห้าเท่าจากการทำงานร่วมกับ Lee
ในขณะเดียวกัน Lee ได้เสริมแรงบวกแก่ลูกค้าทุกคนที่กังวลเกี่ยวกับเงินบำนาญ ในการทำความเข้าใจความท้าทายที่เกี่ยวข้อง และจัดการการเงินด้วยตัวเอง ความรู้นี้ทำให้ลูกค้าแก้ไขพฤติกรรมของตนเอง เพื่อกระตุ้นการออมและลดความกังวลเกี่ยวกับอนาคตของโครงการบำนาญ
การเพิ่ม IQ ทางการเงินของลูกค้า
ทั้งหมดนั่นไม่ได้หมายความว่าเงินบำนาญคือสิ่งเดียวที่อยู่ในใจของลูกค้า Lee ซึ่งอธิบายบทบาทของเขาว่าช่วยเหลือลูกค้าในการเพิ่ม IQ ทางการเงินให้กับพวกเขา เห็นความสนใจในการลงทุนอย่างมากในกลุ่มลูกค้าเจเนอเรชัน MZ แต่พวกเขามักมุ่งเน้นไปที่ผลตอบแทน โดยไม่คำนึงถึงความสามารถในการสร้างผลลัพธ์ที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อและรักษามูลค่าทรัพย์สิน Lee เริ่มต้นด้วยการให้ความรู้แก่ลูกค้าเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานด้านการลงทุน จากนั้นจึงแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมตามปัจจัยของลูกค้าแต่ละราย เพื่อเป็นแนวทางให้กับพวกเขา
“ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนของลูกค้า” Lee กล่าว "พวกเขาแค่ต้องเปลี่ยนกรอบความคิด และเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตัวเอง"
ประสบการณ์การให้คำปรึกษาหนึ่งที่ยังคงติดตรึงใจเขา: เมื่อห้าปีก่อน ลูกค้าที่เรียนอยู่ปีสองให้มหาวิทยาลัยเริ่มการจัดการสินทรัพย์กับ Lee ด้วยการลงทุนระยะสั้นประมาณ 200,000 วอน (ประมาณ 150 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อเดือน ด้วยคำแนะนำจาก Lee ลูกค้าเริ่มใช้แนวทางเชิงรุกในการจัดการการเงินของตน และในตอนนี้ขณะที่เป็นอาจารย์สอนชั้นประถมศึกษาปีที่สาม ลูกค้าได้สร้างสินทรัพย์มูลค่ามากกว่า 40 ล้านวอน (30,000 ดอลลาร์สหรัฐ)
ในอนาคต ผมหวังว่าลูก ๆ จะรับช่วงต่ออาชีพของผม และจัดการลูกค้าหลายเจเนอเรชันต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเจเนอเรชันที่สาม สี่ และห้า
—Min Gyu Lee
“ปกติลูกค้าจะรอให้ผมติดต่อไป แต่ลูกค้าคนนี้ติดต่อผมมาก่อนอยู่ตลอดเวลา ในตอนแรกผมรู้สึกว่าผมคงจัดการเขาไม่ได้” Lee ผู้ซึ่งเพิ่งจ้างผู้ช่วยมาช่วยจัดการเคสต่าง ๆ กล่าว “ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเตรียมตัวและศึกษาข้อมูลสำหรับการประชุมประจำสัปดาห์ของเรา ซึ่งทำให้ผมสามารถจัดการอัตราผลตอบแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีส่วนร่วมในการสนทนาเชิงลึกกับลูกค้ามากขึ้น”
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ลูกค้ายังขอข้อมูลเกี่ยวกับการก้าวสู่การเป็นที่ปรึกษาการเงินสำหรับตัวเองจาก Lee แม้ว่าในที่สุดเขาจะตัดสินใจมุ่งมั่นกับบทบาทของการเป็นครู แต่ลูกค้าก็ได้กลายเป็นผู้แนะนำบอกต่อ Lee อย่างดีเยี่ยม ซึ่ง Lee รู้สึกว่าเขาเองก็ได้มีบทบาทในการให้ความรู้ด้วย โดยผลักดันให้เกิดความเข้าใจ แรงจูงใจ และแรงบันดาลใจ
ความเป็นเลิศในการสื่อสาร
ในขณะที่ครั้งหนึ่ง Lee ใช้การดำเนินการแบบออฟไลน์เพียงอย่างเดียวในการให้คำแนะนำ เขาได้ค่อย ๆ ก้าวไปสู่การสื่อสารผ่าน Zoom และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย KakaoTalk และติดต่อกับลูกค้าผ่านการสัมมนาสองเดือนครั้ง เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ Lee มองว่าเป็นความพยายามในวงกว้างของชาวเกาหลี ในการก้าวไปสู่สังคมที่มีใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทักษะการสื่อสารของ Lee ดีมากชนิดที่บริษัทใช้เขาเป็นวิทยากรอบรมพนักงานใหม่ จัดสัมมนาในหัวข้อต่าง ๆ เช่น “การเป็นพี่เลี้ยงการเงินให้กับเยาวชน” และ “พอร์ตการลงทุนการจัดการเงินเดือนสำหรับเจเนอชัน MZ 2030” แม้เขาจะได้เป็นอาจารย์หลังจากเข้าทำงานที่บริษัทเพียงสี่เดือน ซึ่งเป็นผลมาจากผลการดำเนินงานอันโดดเด่นของเขาในฐานะที่ปรึกษา และเคยแสดงความสนใจในการสอนมาก่อน ในช่วงแรก ด้วยประสบการณ์ที่มีน้อยของเขา ทำให้ต้องหาการเติมเต็มด้วยข้อมูลจากที่ปรึกษาอาวุโสหรืออินเทอร์เน็ต เกือบทศวรรษถัดมา การสัมมนาประกอบไปด้วยข้อมูลเชิงลึกที่เขาได้รับจากประสบการณ์ของตัวเอง
“สิ่งนี้ทำให้ผมเป็นอาจารย์ที่มีทักษะสูงขึ้นและยังช่วยทำให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับการประชุมอยู่ตลอด” Lee กล่าว “ผมคิดว่านี่คือสิ่งที่ทำให้ผมแตกต่าง”
เมื่อมองไปข้างหน้า Lee หวังว่าจะสร้างผลลัพธ์ที่กว้างไกลออกไปต่อไป เขาหวังว่าจะได้ริเริ่มโครงการที่โฟกัสผู้คนหลายเจเนอเรชัน โดยเกี่ยวข้องกับการสืบทอดธุรกิจครอบครัวและการจัดการความมั่งคั่ง เขายังหวังว่าจะได้มีบทบาทเป็นการส่วนตัวในความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องระหว่างที่ปรึกษากับลูกค้า
“ในอนาคต ผมหวังว่าลูก ๆ จะรับช่วงต่ออาชีพของผม” เขากล่าว “และจัดการลูกค้าหลายเจเนอเรชันต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเจเนอเรชันที่สาม สี่ และห้า”
Kyuho Nam เขียนให้ Team Lewis ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการสื่อสารที่ช่วย MDRT ในการพัฒนาเนื้อหาสำหรับตลาดเอเชียแปซิฟิก ติดต่อได้ที่ mdrteditorial@teamlewis.com
Contact
Min Gyu Lee qconomics@naver.com